เสมาหิน ณ พระธาตุยาคู อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

เสมาหิน ณ พระธาตุยาคู อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

พระธาตุยาคู

(ข้อมูลตามป้ายที่ปรากฏในสถานที่)

พระธาตุยาคูเดิมเรียกว่า ธาตุใหญ่ เป็นสถูปเจดีย์ ในสมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15) มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในบรรดาโบราณสถานในเมืองฟ้าแดดสงยาง ยังคงปรากฏร่องรอยของฐานที่สร้างในสมัยแรก เป็นรูปฐานสี่เหลี่ยม เดิมมีลวดลายปูนปั้นประดับ ปัจจุบันหลุดออกหมดและได้นำไปจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จ.ขอนแก่น แผนผังของพระสถูปองค์เดิม เปรียบเทียบได้กับศาสนสถานแบบทวารดีที่พบทางภาคกลาง เช่นที่ อำเภออู่ทอง จ.สุพรรณบุรี และที่อำเภอคูบัว จ.ราชบุรี
รูปทรงขององค์เจดีย์ ได้ถูกก่อสร้างเปลี่ยนแปลงไปในสมัยหลังเป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม บนฐานสี่เหลี่ยมเดิม และกรมศิลปากรได้ทำการบูรณะครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2526 และครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2539 ได้พบใบเสมาหินทรายหลายใบโดยรอบองค์พระธาตุ ยังปรากฏซากฐานเจดีย์ขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐอีกทั้งสิ้น 6 องค์ กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระธาตุยาคูเป็นโบราณสถาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2480 และประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 155 วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2525 พื้นที่ประมาณ 6 ไร่ 2 งาน

เมืองฟ้าแดดสงยาง

(ข้อมูลตามป้ายที่ปรากฏในสถานที่)

ฟ้าแดดสงยางหรือที่เรียกเพี้ยนเป็น ฟ้าแดดสูงยาง บางแห่งเรียกว่า เมืองเสมา เนื่องจากแผนผังของเมือง มีรูปร่างคล้ายใบเสมา เป็นเมืองโบราณ ที่มีคันดินล้อมรอบ 2 ชั้น ความยาวของคันดินยาวโดยรอบประมาณ 5 กิโลเมตร คูน้ำจะอยู่ตรงกลางระหว่าง คันดินทั้งสอง
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ทำให้ทราบว่ามีการอยู่อาศัยภายในเมืองมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และได้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยทวารดีราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ดังหลักฐานทางพุทธศาสนาที่ปรากฏโดยทั่วไปทั้งภายในและภายนอกเมือง เช่น ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพเรื่องชาดกและพุทธประวัติจำนวนมาก บางส่วนเก็บไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเสมาราม ซึ่งอยู่ภายในเมือง บางส่วนยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ดั้งเดิมที่พบและบางส่วนก็นำไปเก็บรักษาและจัดแสดงที่พิธิภัณฑสถานแห่งชาติ จ.ขอนแก่น นอกจากนี้ยังมีซากศาสนาสถานกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปทั้งภายในและภายนอกเมือง เช่น พระธาตุยาคู และกลุ่มเจดีย์บริวาร ศาสนสถานที่โนนวัดสูง โนนฟ้าหยาด โนนฟ้าแดด เป็นต้น
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นโบราณสถานของชาติ โดยประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอน 34 วันที่ 27 กันยายน 2479

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์ เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

เสมาหิน, พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

 

 

ภาพถ่ายสถานที่จาก  Suttawan Bewer ( Isaninsight)

เมื่อวันที่ 20/2/2560

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *