รายละเอียดทั้ง 9 ชั้นของพระมหาธาตุแก่นนคร อนุสรณ์สาธุชน อ.เมือง จ.ขอนแก่น

รายละเอียดทั้ง 9 ชั้นของพระมหาธาตุแก่นนคร อนุสรณ์สาธุชน อ.เมือง จ.ขอนแก่น

เรื่องและภาพ โดย สุทธวรรณ บีเวอ

บทความภาคภาษาอังกฤษ โดย  Tim Bewer

ภาพวาดแผนผังพระมหาธาตุแก่นนคร  จาก แหล่งท่องเที่ยวสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอบบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่น: ประวัติศาสตร์การหาอยู่หากิน ปรัชญาชีวิต และพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ศูนย์รวมจิตใจ(สามารถดาวน์โหลดแผ่นพับได้)

เวลาเปิด-ปิดพระมหาธาตุแก่นนคร: ชั้น 1 เวลา 6.00-17.00 น. และชั้น 2-9 เวลา 8.00-16.30 น.

“พระมหาธาตุแก่นนคร อนุสรณ์สาธุชน” ซึ่ง พระธรรมวิสุทธาจารย์ (คูณ ขันติโก ป.ธ.4) เป็นผู้ริเริ่มการสร้าง เพื่อเทิดพระเกียรติครองราชย์ 50 ปี รัชกาลที่ 9 และครบ 200 ปี เมืองขอนแก่น เริ่มสร้าง 7 ตุลาคม พ.ศ.2533 ใช้เวลาสร้างเสร็จประมาณ 10 ปี พระมหาธาตุมีทั้งหมด 9 ชั้น ฐานกว้าง 50 x 50 เมตร ความสูงถึงยอดฉัตร 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุม มีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียร ออกแบบโดยใช้ศิลปะสมัยทวารวดีหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผสมผสานกับศิลปะอินโดจีน รูปทรงแบบอีสานตากแห ในแต่ละชั้นของพระมหาธาตุจะเป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นแหล่งรวมความรู้ นิทาน เรื่องเล่า ปรัชญาชีวิตของชาวอีสาน ผ่านภาพจิตรกรรมฝาผนังในแต่ละชั้นของพระมหาธาตุแก่นนคร ซึ่งรายละเอียดในแต่ละชั้นมีดังนี้  (English version)

ชั้นที่ 1

บริเวณชั้นที่ 1 ของพระมหาธาตุแก่นนครฯ จะมีบุษบทประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตสาวกโดยรอบ มีรูปปั้นเหมือนหลวงปู่คูณ ขันติโก อยู่ด้านฝั่งขวาของด้านหน้าพระบรมสารีริกธาตุ ด้านหลังของพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประธาน 5 องค์ องค์กลางรวมถึงพระมหาธาตุนั้นได้หันหน้าไปทางด้านทิศตะวันตกหรือถนนกลางเมือง (ในขณะที่พระอุโบสถจะหันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออกหรือบึงแก่นนคร) อีกสององค์อยู่ด้านทิศใต้ และอีกสององค์อยู่ด้านทิศเหนือ

ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร

ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร

ในปัจจุบัน บริเวณชั้น 1 ทางวัดได้จัดสถานที่สักการะสรีรสังขารของหลวงปู่คูณ ขันติโก ผู้ริเริ่มสร้างพระมหาธาตุแก่นนคร อนุสรณ์สาธุชนแห่งนี้

ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร

ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร

ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร

ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร
ห้องสำหรับเคารพสรีรสังขารจะอยู่ด้านหลัง

บริเวณโดยรอบของชั้น 1 นั้น มีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ดังนี้

ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร
ท่านใดที่ต้องการถวายสังฆทาน สามารถมายังจุดบูชาผ้าไตรและสังฆทานได้ โดยบริจาคตามกำลังศรัทธาที่กล่องบริจาค
ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร
ตักบาตรทำบุญ 108 ขัน เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่ตนและครอบครัว
ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร
ทำบุญห่มผ้าพระมหาธาตุแก่นนคร
ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร
ถวายระฆังทองเหลืองเพื่อใช้ทำบุญสำหรับหล่อพระ

ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร

นอกจากนี้ในส่วนของจิตรกรรมฝาผนังที่วาดประดับตกแต่งในชั้น 1 จะประกอบไปด้วยประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชาวเมืองขอนแก่น ฮีตสิบสอง สถานที่สำคัญของท้องถิ่น และวิถีท้องถิ่นของเมืองขอนแก่นในอดีต และส่วนหน้าต่างและประตูทางเข้าชั้น 1 จะเป็นภาพแกะสลักไม้นิทานเรื่อง จำปาสี่ต้น

รายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจของชั้นนี้ มีดังนี้

  • รายละเอียดภาพจิตรกรรมฝาผนัง ชั้น 1 เรื่อง ประวัติการสร้างเมืองขอนแก่น ศาสนสถานโบราณ และวิถีวัฒนธรรม (ภาพหมายเลข 1-26)  ที่นี่

  • Ground-Floor Khon Kaen History Murals at Wat Nong Wang (number 1-26, English version)

  • รายละเอียดภาพจิตรกรรมฝาผนัง ชั้น 1 เรื่อง “ฮีตสิบสองคองสิบสี่”  (ภาพหมายเลข 27-52) ที่นี่

  • Ground-Floor Isan Culture Murals at Wat Nong Wang (number 27-52, English version

  • รายละเอียดภาพแกะสลักบานประตูและหน้าต่าง เรื่อง “จำปาสี่ต้น” ที่นี่

ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร พระมหาธาตุแก่นนคร
ภาพจินตนาการประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานเมืองขอนแก่น จากภาพคือช่วงเวลาหนึ่งที่เมืองขอนแก่นได้ย้ายเมืองมาตั้งใกล้แม่น้ำชี ปัจจุบันคือบ้านดอนบม
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวง ขอนแก่น จิตรกรรมฝาผนัง ประวัติศาสตร์
หนึ่งในประเพณีฮีตสิบสองหรืองานบุญในสิบสองเดือนของชาวอีสาน เดือนหกคือบุญบั้งไฟ
ชั้น 1 พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร
บานหน้าต่าง แกะสลักไม้ นิทานเรื่อง จำปาสี่ต้น

ชั้น 2

บริเวณชั้นที่ 2 ของพระมหาธาตุแก่นนครฯ จะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวอีสาน มีตู้พระธรรมเก็บคัมภีร์ใบลานรูปแบบอีสานโบราณ มีโครงกระดูกมนุษย์สอนใจธรรมะ นอกจากนี้ยังมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับ คะลำ หรือ ข้อห้ามปฏิบัติของชาวอีสาน และนิทานเรื่อง สินไซ ที่บานประตูหน้าต่าง เป็นต้น

รายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจของชั้นนี้ มีดังนี้

  • รายละเอียดภาพจิตรกรรมฝาผนังชั้น 2 ของพระมหาธาตุแก่นนคร เรื่อง คะลำ  ที่นี่

  • Mural Paintings of “Kalam” at Wat Nong Wang (English Version)

  • รายละเอียดภาพจิตรกรรม ชั้น 2 “สินไซ” จากใบลานสู่ภาพจิตรกรรมบานประตูหน้าต่าง ที่นี่

ชั้น 2 วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร

ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร

ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร

ชั้น 2 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น บึงแก่นนคร สถานที่ท่องเที่ยว
ภาพถ่ายจากชั้น 2 ลงมายังห้องโถงด้านล่าง
ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร
ด้านนอกระเบียงชั้น 2
ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร
หน้าต่างและประตูวาดภาพเป็นนิทานที่มีชื่อเสียงของแถบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทยและสปป.ลาว เรื่อง สินไซ โดยในเมืองขอนแก่นได้คัดเลือกนิทานเรื่องนี้ ในการใช้ตัวละครประดับประดาสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสาไฟ ด้วยตัวละครหลักคือ สินไซ หอยสังข์ และสีโห หรือรูปปั้นสีโหบริเวณศาลหลักเมือง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องนี้ที่สิมหรืออุโบสถอยู่หลายวัด อันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของช่างเขียนท้องถิ่น ที่มีชื่อเสียงอยู่หลายแห่งด้วยกัน
คะลำ วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น คติอีสาน ข้อห้ามชาวอีสาน วัดหนองแวง พระอารามหลวง พระมหาธาตุแก่นนคร
คะลำหรือข้อห้ามทำ เช่น สะใภ้ไม่ควรยืนค้ำหัว บางส่วนของภาพคะลำ 32 ภาพ ในชั้นสอง ฝีมือการวาดของครูธรรมรงค์ แก้วโบราณ ซึ่งครูธรรมรงค์ได้ฝากฝีมือศิลปินท้องถิ่นอีสานคนขอนแก่นเกือบทุกชั้นของพระมหาธาตุแก่นนครแห่งนี้
ชั้น 1 วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวรอบบึงแก่นนคร
วิวจากชั้น 2 จะมองเห็นโรงเรียนการกุศลวัดหนองแวง เป็นอีกหนึ่งในโรงเรียนที่วัดหนองแวงดูแล มีเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงระดับมัธยมปลาย เรียนฟรี  (พ.ศ. 2542 พระวิสุทธิกิตติสาร ปัจจุบันพระธรรมวิสุทธาจารย์ (คูณ ขนฺติโก) เจ้าอาวาสวัดหนองแวง ได้รับบัญชาของเจ้าประคุณสมเด็จ พระพุฒาจารย์ว่า “ทำโรงเรียนการกุศลให้หน่อย จะได้ช่วยเหลือเด็กชาวบ้านต่อไป”  จึงมีการจัดตั้งโรงเรียนการกุศลวัดหนองแวงขึ้น เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2543 ข้อมูลจาก โรงเรียนการกุศลวัดหนองแวง )

ชั้น 3

หอปริยัติ ประกอบไปด้วยตู้เก็บตาลปัตร พัดยศ และเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงในขอนแก่น นอกจากนี้ยังมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง พระเวสสันดร และหน้าต่างเป็นภาพวาด เรื่อง นางผมหอม จากชั้นสามเป็นชั้นสูงสุดที่มีช่องภายในพระมหาธาตุแก่นนคร ที่สามารถมองลงไปเห็นบุษบทที่สวยงามของพระบรมสารีริกธาตุและพระสาวกในชั้นล่างได้

รายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจของชั้นนี้ มีดังนี้

  • Nang Phom Hom, “The Fragrant-Haired Lady” (Long Version) (English version)

  • Nang Phom Hom, “The Fragrant-Haired Lady” ( Typical version) (English version)

ชั้น 3 พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

ชั้น 3 วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

ชั้น 3 วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

ชั้น 3 วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

ชั้น 3 วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
ภาพถ่ายจากชั้น 3 ลงมายังห้องโถงด้านล่าง
ชั้น 3 วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
นิทานเรื่อง นางผมหอม

ชั้น 4

หอปริยัติธรรม เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมของเก่า สำหรับภาพจิตรกรรมบนบานประตูและหน้าต่างเป็นภาพพระประจำวันเกิด เทพนพเคราะห์ เทพประจำทิศและสัตว์ประจำทิศ  และภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพประวัติของหลวงปู่คูณ ขันติโก ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่เอง โดยเริ่มต้นตั้งแต่วัยเยาว์ จากเด็กชายคูณ สุยอย กำเนิดที่บ้านอุปราช ต.ท่าสองคอน อ.เมือง จ.มหาสารคาม จนกระทั่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองแวง เป็นผู้ริเริ่มการสร้างพระมหาธาตุแก่นนครและพัฒนาวัดหนองแวง พระอารามหลวงให้มีความเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน วาดภาพโดยครูธรรมรงค์ แก้วโบราณ

รายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจของชั้นนี้ มีดังนี้

  • จิตรกรรมฝาผนัง ชั้น 4 พระมหาธาตุแก่นนคร: ชีวประวัติของพระธรรมวิสุทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองแวงพระอารามหลวง  ที่นี่

  • ภาพวาดพระพุทธรูปประจำวันเกิด เทพนพเคราะห์ เทพประจำทิศ และสัตว์ประจำทิศ ของอีสาน ณ ชั้น 4 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น  ที่นี่

  • Biography of Luang Paw Koon Kantigo, a Former Abbot of Wat Nong Wang (English version)

  • Gods of Directions and Celestial Bodies at Wat Nong Wang (English version)

ชั้น 4 วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

ชั้น 4 ประวัติหลวงปู่คูณ วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
ภาพจิตรกรรมฝาผนังบางส่วนของประวัติหลวงปู่คูณ ขันติโก (วาดตามคำบอกเล่าของหลวงปู่)

ชั้น 4 ประวัติหลวงปู่คูณ วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

ชั้น 4 วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
ตู้เก็บรวบรวมของโบราณ
ชั้น 4 วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
ภาพวาดการสร้างพระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวง พระอารามหลวง
ชั้น 4 วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
ครูธรรมรงค์ ผู้วาดภาพ(ถือหมอน) และภรรยา (ถือพานบายศรี)
ชั้น 4 ประวัติหลวงปู่คูณ วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
ภาพวาดหนึ่งในเทพประจำทิศและสัตว์ประจำทิศ
ชั้น 4 ประวัติหลวงปู่คูณ วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
ภาพวาดพระประจำวันเกิด และเทพนพเคราะห์ ภาพนี้คือ วันพุธกลางคืน ปางป่าเลไลยก์ และ พระพาย ประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ชั้น 5

หอพิพิธภัณฑ์ มีบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 6 บานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธประวัติ มีภาพวาดปริศนาธรรมและสุภาษิตอีสาน (ขณะนี้กำลังดำเนินการวาด สามารถศึกษาการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังได้ วาดโดยครูธรรมรงค์ แก้วโบราณ)

รายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจของชั้นนี้ มีดังนี้

ชั้น 5 วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น บึงแก่นนคร

ชั้น 5 วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น บึงแก่นนคร

ชั้น 5 วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น บึงแก่นนคร
ครูธรรมรงค์ แก้วโบราณ กำลังวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังชั้นที่ 5 เกี่ยวกับสุภาษิตอีสาน

วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น ประวัติศาสตร์ ชั้น 5 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

ชั้น 6

หอพระอุปัชฌายาจารย์ บานประตูแกะสลักภาพพุทธประวัติ

รายละเอียดภาพแกะสลักไม้ของชั้นนี้ทั้งหมด มีดังนี้

  • พุทธประวัติ(ตอนที่ 1): ภาพแกะสลักบานประตูชั้นที่ 6 พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวงพระอารามหลวง ขอนแก่น ที่นี่

  • The Buddha’s Life Story (Part 1) at Wat Nong Wang (English version)

ชั้น 6 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง บึงแก่นนคร

ชั้น 7

หอพระอรหันตสาวก บนบานประตูหน้าต่างแกะสลักเรื่อง ทศชาติชาดก เน้นเรื่อง พระเวสสันดร

รายละเอียดภาพแกะสลักไม้ทั้งหมดของชั้นนี้ มีดังนี้

  • พระเวสสันดรและทศชาติชาดก: ภาพแกะสลักไม้ ชั้น 7 พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวงพระอารามหลวง ที่นี่

  • Mahanipata Jataka at Wat Nong Wang (English version)

วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น ประวัติศาสตร์ ชั้น 7 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น ประวัติศาสตร์ ชั้น 7 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

ชั้น 8

หอพระธรรม รวบรวมพระธรรมคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนามีพระไตรปิฏก ฯลฯ บานประตูแะสลักรูปพรหม 16 ชั้น (จนถึงชั้นที่ 9)

วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น ประวัติศาสตร์ ชั้น 8 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น ประวัติศาสตร์ ชั้น 8 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น ประวัติศาสตร์ ชั้น 8 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
ลวดลายบันไดทางขึั้นชั้นที่ 9

ชั้น 9

หอพระพุทธ มีบุษบกบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ได้รับจากพม่าและสมเด็จพระสังฆราช บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้น 3 มิติ ด้านนอกสามารถเดินบนระเบียงชมทิวทัศน์เมืองขอนแก่นได้โดยรอบ

วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น ประวัติศาสตร์ ชั้น 9 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น ประวัติศาสตร์ ชั้น 9 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น ประวัติศาสตร์ ชั้น 9 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น ประวัติศาสตร์ ชั้น 9 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น ประวัติศาสตร์ ชั้น 9 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

วัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น ประวัติศาสตร์ ชั้น 9 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

หัวข้อที่น่าสนใจเพิ่มเติม

  • วัดหนองแวง พระอารามหลวง จังหวัดขอนแก่น (WAT NONG WANG, KHON KAEN) ที่นี่

  • แผ่นพับ แผนที่ท่องเที่ยวสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอบบึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น ที่นี่

………………………

อ้างอิง

หนังสือ ที่ระลึกงานบำเพ็ญกุศลอายุวัฒนมงคล 90 ปี พระธรรมวิสุทธาจารย์ (คูณ ขฺนติโก ป.ธ.4) เจ้าอาวาสวัดหนองแวง พระอารามหลวง ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 วันที่ 27 มกราคม พุทธศักราช 2562

แผ่นพับ แผนที่ท่องเที่ยวสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอบบึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น

หนังสือที่ระลึกในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 ณ วัดหนองแวง พระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2556

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *