สารพัดพาชม: ตอน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองพีวอคี สหรัฐอเมริกา (Various things to see: The Local History Museum in Pewaukee, USA)
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านคลาร์ก หรือ The Clark House Museum ประจำเมืองพีวอคี (Pewaukee) รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเล็กๆ ที่เก็บเรื่องราวประวัติศาสตร์ของการตั้งเมืองและการหาอยู่หากินของผู้คนเมืองพีวอคี
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีการดูแลดีมากจากจิตอาสารุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย และเงินบริจาคร่วมกันของชุมชนและสมาคมพื้นที่ทางประวัติศาสตร์พีวอคี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กๆ รุ่นหลังให้รู้จักกับบ้านของตัวเอง ดังสโลแกนของพิพิธภัณฑ์ที่ว่า..
“เคารพต่อสิ่งที่ผ่านมา เพื่อประโยชน์ต่อสายตาที่มองไปสู่อนาคต”
Operated by the Pewaukee Area Historical Society, the Clark House Museum is located in the village of Pewaukee, Wisconsin USA. It is a small local museum that collects and preserves historical artifacts from the village. This museum is very well cared for by volunteers, many of them retired from their jobs, and supported donation from the community. It is an excellent learning center for the younger generations to know their hometown. The museum’s slogan is “Reverence for the past and eye to the future.”
การเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งนี้มีความพิเศษกว่าพิพิธภัณฑ์อื่นๆ โดยทั่วไป เพราะจะเปิดเฉพาะคืนวันพุธ หนึ่งทุ่มจนถึงสามทุ่ม จะเปิดช่วงกลางวันก็เพียงแค่ในวันอาทิตย์ช่วยบ่าย เพราะมีคนมาเยี่ยมชมไม่มาก แต่ช่วงเวลาดังกล่าวนั้นดีสำหรับทุกคนเพราะว่างจากกิจธุระต่างๆ ทั้งคนที่มาเป็นจิตอาสาให้ความรู้คือรุ่นปู่ย่าและครอบครัวที่พากันมาชม แต่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็เปิดเพียงครึ่งปีเฉพาะช่วงพฤษภาคมถึงตุลาคมเท่านั้น เป็นเพราะที่นี่มีหิมะตกยาวนานอากาศหนาวเย็นจนติดลบหลายเดือน
Visiting times are special. It only opens on Wednesday night from 7pm to 9pm and on Sunday afternoon from 1pm to 4pm. These unusual hours were chosen because they don’t get a lot of visitors and if people want to come at other times they can call and make an appointment. The Sunday and evening times are convenient so families can come together on a weekend and after work. It’s also convenient for the volunteers. Also, the season is only late May to late October because the other months are the cold season in Wisconsin and there is a lot of snow and temperatures way below zero degrees.
เมื่อมองมาที่บ้านเราแล้ว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นส่วนใหญ่บางทีเหมือนทิ้งร้างหลายปีเพราะไม่มีคนไปดู ทำให้บางที่เปิดเฉพาะตอนมีผู้ใหญ่มาเยี่ยมชมจึงทำความสะอาดเสียทีหนึ่ง เป็นที่น่าเสียดายมาก แต่สำหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นพีวอคีแล้ว กว่า 43 ปีที่ผ่านมา กลับกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ยั้งยืนยง ทำให้มองเห็นว่าส่วนสำคัญมาจากแรงใจของ “คนในชุมชน” ที่ทำงานร่วมกันตั้งแต่การเริ่มสร้างจนถึงซ่อมแซม
In our area, many local museums look abandoned after a few years, and are only opened by special permission for big groups like schools or government official that want to visit – this gives them time to clean up. But for the local museum in Pewaukee, it has been operating more than four decades: it opened in 1977. I think the main reason The Clark House Museum is taken care of so well is that many people in the community worked together to create it and they work together to maintain it.
จากจุดเริ่มต้นที่อยากจะมีอะไรให้ระลึกถึงบ้านเกิดเป็นการเฉลิมฉลองประวัติศาสตร์พีวอคีระหว่างครบรอบ 200 ปีของอเมริกา ชาวพีวอคีได้เก็บกำสิ่งที่ภูมิใจแล้วนำมาจัดแสดงเอาไว้ให้เห็นทั้งประวัติผู้คน การศึกษา เครื่องมือเครื่องใช้ นักประดิษฐ์คิดค้นและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงอาชีพเก่าแก่หลายอย่างที่เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ ซึ่งชาวพีวอคีมีทะเลสาบใหญ่อยู่ที่นี่ หลายสิ่งเก่าๆ หลายอย่างได้นำมาจัดแสดงให้จับต้องได้ (ส่วนชิ้นไหนสำคัญกำลังจะพัง ก็เอาเข้าตู้ไว้) การนำเสนอแบบนี้ทำให้เด็กๆ รุ่นหลังหรือผู้ที่สนใจเข้าใจและเข้าถึงได้ง่ายๆ และดีที่สุดคือ เจ้าพวกเครื่องมือเก่าๆ แบบนี้ พอเสียบปลั๊กแล้วน่าอัศจรรย์ที่ยังทำงานได้อยู่อีก(น่าจะซ่อมจนใช้งานได้)
It began when some local people wanted to make celebrate Pewaukee history during the USA’s 200-year anniversary. They collected many old things including tools and equipment used at home, work and on the farm; pictures from their schools; and information about notable local people like the inventor Bill Brown. Many of the old careers were about land use because they have a big lake there. Many of the old things that are on display and not fragile can be touched, which is great because the next generations can really understand them. And much of the old equipment even still works when you plug it in.
การให้ความสำคัญกับความรู้ในอดีต อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่คนอเมริกันสามารถสร้างและพัฒนาสิ่งใหม่ที่ใช้งานได้ดีอย่างเหมาะสมกับพื้นที่ตัวเอง เรียกได้ว่า ยิ่งรู้ยิ่งกว้างยิ่งดี ยิ่งทำให้แก้ไขปัญหาได้ดีมากขึ้น ถ้าวันใดเราเกิดปัญหาด้านเทคโนโลยีใช้การไม่ได้หรือภัยพิบัติใหญ่ ความรู้จากมนุษยชาติที่สั่งสมกันมานี้ก็ยังใช้ดำรงชีพได้ในยามจำเป็น ดังนั้นการมีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จึงไม่เพียงแต่ทำให้เรามาเที่ยวชมเท่านั้น แต่ยังแฝงกำไรที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกอย่าง เหมือนเช่นดังรากไม้มากมายที่คอยค้ำจุนต้นไม้ใหญ่หลายต่อหลายต้นนั่นเอง.
Maybe respecting the past is one of the reasons that Americans develop many new things – the more you know, the more you can innovate. And if there is ever a problem with technology or a big disaster, it is good that we keep this old knowledge alive. So having history museums are not only for the enjoyment of travellers, they are beneficial to us all. Many small roots can support big trees.
(คลิ๊กที่ภาพ เพื่อขยาย / Please click on photos.)
ผู้เขียน สุทธวรรณ บีเวอ
บรรณาธิการ ทิมบีเวอ
Writer: Suttawan Bewer
Editor: Tim Bewer
อีสานอินไซต์
ขอขอบพระคุณ Duane Bewer ในการพาชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของเมืองพีวอคีค่ะ
Thank you so much to Duane Bewer for taking me to the museum.
อ้างอิง
การเดินทางรัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา
ในปี พ.ศ.2557 และ 2562