กล้วยไม้ป่าหน้าแล้ง ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย
เคยได้ยินไหมว่า บนสวรรค์จะมีสวนอุทยานที่มีพันธุ์ไม้ดอกไม้ของแต่ละชั้นสวรรค์อยู่ แถวอีสานปกติยิ่งสูงคือจะเจอแต่ป่าไผ่ ป่าหวาย แต่ถ้าสูงจนได้ที่ล่ะก็..
ภูเขียว มียอดสูงสุด 235-1,310 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล .. ป่าเขียวๆ ผ่านป่าไผ่ไป ก็จะมีต้นสน
ภูกระดึงพื้นที่ส่วนใหญ่ 400-1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล … ทางขึ้นเป็นป่าไผ่ ถัดไปหลังแป มีทุ่งหญ้า มีต้นสน
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว มียอดสูงสุด 650-1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มีไผ่ ป่าสนอีกละ (ช้างเยอะด้วย)
ภูหลวง มีความสูงที่ราบอยู่ที่ 1,200-1,500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล สูงกว่าหมู่(สูงกว่าเพื่อน)
สิเจออิหยังน้อ?
ตอบบบบบ… สวรรค์น่ะสิ!
ภูหลวงชนะเลิศด้านความสูงเหนือระดับน้ำทะเลในภาคอีสานแบบขาดลอย จึงหนาวสุดยอดภูที่สุดของอีสาน (บางปีต่ำกว่า 0 องศา) นอกจากนี้ด้วยความที่เป็นภูเขาหินทราย (หมวดหินภูพาน ยุคครีเทเชียสตอนต้นประมาณ 130-120 ล้านปี) มีลมแรงอยู่ด้านบน ต้นไม้ก็เลยมีแต่ต้นเตี้ยๆ ส่วนใหญ่สูงเลยหัวไปไม่มาก อากาศมีเมฆหมอก แม้จะเป็นหน้าแล้ง ถ้าฝนตกอยู่บ้าง ก็ยังมีเมฆลอยเป็นหมอกปกคลุม ถ้าอากาศด้านล่างประมาณ 30 องศาเซลเซียส บนยอดภูก็จะประมาณ 15 องศาเซลเซียส ที่นี่ไม่มีเรือนพักนอนแยกใครแยกมัน เราต้องนอนกองๆ กันในห้องเดียวรวมกันประมาณ 7-8 คน ครั้นจะกางเต็นท์ที่ลาน ก็เสี่ยงกับช้างป่าเดินกันให้ขวักไขว่ อย่างไรก็ตามแม้ที่พักจะต้องนอนรวมกันไม่ได้เป็นแบบอุทยานแห่งชาติ แต่เราก็มีน้ำอุ่นระบบแก๊สนะ (บางทีก็ไม่อุ่น 55) แล้วก็มีผ้าห่มนุ่มๆ ที่นอนสะอาด สามารถนอนกันได้อย่างสบายๆ ค่าที่พักเป็นค่าบริจาคตามเห็นสมควรแก่สถานที่ (อย่าลืมเอาไฟฉายไปด้วย หลังสองหรือสามทุ่มไม่มีไฟฟ้าแล้ว) ส่วนอาหารการกินไม่ต้องห่วงเลย ตอนจองมาให้บอกเจ้าหน้าที่ไว้เลยจะทานกี่มื้อ กี่คน อาหารที่นี่อร่อยมาก เรียกได้ว่าแม้จะกินข้างล่าง แต่ไม่อร่อยเท่าข้างบนแน่นอน โดยเฉพาะผัดกะเพรา น้ำพริกกะปิ ทอดไข่ชะอม ข้าวต้มเห็ดหอม ฯลฯ อธิบายอาหารเยอะไม่ได้ น้ำลายจะไหล เดี๋ยวจะกลายเป็นรีวิวอาหารแทน เอาเป็นว่าบทความนี้ตั้งใจมารีวิวกล้วยไม้ของภูหลวงในช่วงหน้าแล้งตามด้านล่างเลย เผื่อใครไปจะได้ดูกันง่ายๆ หาชื่อเจอกันเจอจ้า
……….
ผู้เขียน สุทธวรรณ บีเวอ
ทริปวาดภาพ “ภูหลวง” กับจุกบาง แกลเลอรี
ภาพ Isan Insight
ฐานข้อมูล
หนังสือ กล้วยไม้ป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ปี พ.ศ.2552 ดาวน์โหลดได้ ที่นี่
https://oc.mju.ac.th/Search_Detail_Orchid_MJU.aspx?ORCHID_ID=0617